5 ข้อควรรู้ก่อน การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน สำหรับผู้ประกอบการ

ความรู้เพื่อทำความเข้าใจระบบโซล่าเซลล์สำหรับ ” การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน “
การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทาง EGP ได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจหน้างานธุรกิจโรงงานมาหลายแห่งก่อนการ ติดตั้งโซล่าเซลล์ พบว่ามีหลายเรื่องที่โรงงานต้องปรับตัว เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อการลดค่าไฟในระยะยาว และคืนทุนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะต้องบอกว่าการบริหารงานในโรงงานแต่เดิม มีบางเรื่องที่ยังขัดกับหลักการณ์การผลิตไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ เพื่อการลดค่าไฟให้ได้มากที่สุด และปลอดภัยเช่นกัน

ดังนั้นเราจึงได้สรุป 5 เรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้ ก่อน ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เพื่อให้บรรดาผู้ประกอบการและจัดซื้อทุกคนได้เข้าใจตรงกัน สำหรับท่านใดที่ต้องการที่ปรึกษาด้านระบบ โซล่าเซลล์โรงงาน เราพร้อมดูแลคุณและตอบข้อสงสัยได้ในทุกเรื่อง ครอบคลุมในทุกปัจจัย เพื่อให้การตัดสินใจของคุณง่ายขึ้น

เวลาการทำงานในโรงงาน

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘บิลค่าไฟ’ กันก่อนเราจะขอยกตัวอย่าง บิลค่าไฟของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 4 กิจการขนาดใหญ่ (โรงงานขนาดใหญ่) โดยบิลค่าไฟของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 4 จะแบ่งออกเป็น มิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOD และ TOU
การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

มิเตอร์แบบ TOU

จะคิดค่าไฟแบ่งตามช่วงเวลาของวัน โดยจะแบ่งเป็น ช่วง
  • on-peak (จันทร์-ศุกร์ 9.00-22.00น.) มีราคาค่าไฟอยู่ที่ 4 บาท
  • off-peak (จันทร์-ศุกร์ 22.00 – 09.00 น. ทั้งวันวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการตามปกติไม่รวมวันหยุดชดเชย) มีราคาค่าไฟอยู่ที่ 2.5 บาท

มิเตอร์แบบ TOD

จะคิดอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของวันแบ่งเหมือนๆ กันทุกวัน แต่จะมีการเพิ่มช่วงเวลา Partial Peak ที่เป็นค่าที่ยิ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอมากเท่าไหร่ เรายิ่งเสียค่าไฟส่วนนี้มากเท่านั้น
จะเห็นได้ชัดว่า on-peak จะมีอัตราค่าไฟที่แพงกว่าค่อนข้างมาก ซึ่งไม่ว่าโรงงานใดจะใช้มิเตอร์แบบ TOU หรือ TOD ก็ตาม ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากกับการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ทำให้โรงงานหลายแห่งเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน โดยเปลี่ยน ‘กะ’ หรือเวลาทำงานเป็นช่วง off peak หรือช่วงกลางคืนแทน เพื่อให้ค่าไฟนั้นถูกลง
แต่ ‘ค่าไฟ’ จะถูกกว่านั้นหลายเท่า หากเปลี่ยนกะการทำงานมาเป็นช่วงเวลากลางวัน พร้อมกับติดตั้งโซล่าเซลล์ เพราะโซล่าเซลล์ จะผลิตพลังงานสูงสุดได้ในช่วงนี้ ก็เท่ากับการลดค่าไฟในช่วง on-peak ไปได้เลย ดังนั้นเมื่อเรามีระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้า พร้อมกับ การวางแผนเวลาการทำงานในโรงงานที่ดี ย่อมลดค่าไฟได้มากตามไป

ตรวจสอบพื้นที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

ตรวจสอบพื้นที่หลังคา เพื่อให้ทราบว่าโรงงานมีพื้นที่ติดตั้งเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าหรือไม่ ?
การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
มีเจ้าของโรงงานหลายเคสที่เราพบว่ามีค่าไฟเยอะมาก (มากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน) ดังนั้นการติดตั้งโซล่าเซลล์ จะต้องติดประมาณ 1 Mwp ซึ่งบางโรงงานก็มีพื้นที่หลังคาพอติดตั้งแต่ก็มีบางโรงงานที่มีขนาดพื้นที่หลังคาไม่พอต่อ การติดโซล่าเซลล์ ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาที่ทำให้ลดค่าไฟได้ไม่มากเท่าที่ควร หากติดตั้งไปแล้ว เพราะจากที่เราทราบ โซล่าเซลล์ระบบออนกริด หากผลิตไฟฟ้าไม่พอต่อการใช้ ก็จะดึงไฟจากการไฟฟ้ามาชดเชย ซึ่งไฟฟ้าจากในส่วนนี้คือส่วนที่เราต้องจ่าย ดังนั้นพื้นที่ติดแผงโซล่าเซลล์สำคัญมาก

แต่ปัญหานี้มีทางออก หากโรงงานคุณมีพื้นที่ติดตั้งอื่นนอกเหนือจากบนหลังคา เช่น บนหลังคาลานจอดรถ ( Solar carport ), บนพื้นดินที่สามารถติดตั้งรูปแบบ โซล่าฟาร์ม ( Solar farm ) และบนผืนน้ำ หรือที่เรียกว่า โซล่าฟาร์มลอยน้ำ ( Solar floating ) ก็จะสามารถเพิ่มขนาดการติดตั้งให้เพียงพอต่อการใช้งานจริงได้

ทั้งนี้จากที่เรากล่าวไปข้างต้น เป็นหนึ่งใน Solution ของการเพิ่มพื้นที่ติดตั้ง อย่างไรก็ตามการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงานก็เป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ที่ลูกค้าจะเลือก โดยคำถามส่วนใหญ่จากลูกค้าคือ ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องใช้หลังคาชนิดใด ?
ตอบได้เลยว่า จะเป็นหลังคาเมทัลชีท, ชิงเกิลรูฟ, ซีเมนต์ หรือหลังคากระเบื้องก็ตาม สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้หมด เพียงแต่ว่าหลังคาที่จะติดตั้งต้องไม่เก่าจนเกินไป หรือไม่ควรมีอายุเกินกว่า 20 ปี ทั้งนี้์ ทาง EGP จะประเมินโครงสร้างหลังคาก่อนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้เสมอ ว่าหลังคาจะใช้ได้อีกนานเท่าไหร่ มีจุดรั่วซึมมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ยึดแผงต่างๆ จะมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 15-20 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเนื่องด้วยความที่แผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยราวๆ 25-30 ปี ดังนั้นจะติดตั้งทั้งทีต้องมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาหลังคารั่วซึมตามมาในอนาคต

Solar Bank Loan กับ Private PPA

จะเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานแบบใดระหว่าง Solar Bank Loan (ซื้อขาด-หรือผ่อนธนาคาร) กับ Private PPA (ให้บริษัทรับเหมาลงทุนแทน)
การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

เจ้าของโรงงานบางท่าน อยากจะติดตั้งโซล่าเซลล์โดยหวังว่าจะลดค่าไฟได้ แต่ไม่ได้ประเมินสถานการณ์ให้ดีก่อนก็อาจเสียโอกาสในการทำกำไรให้ธุรกิจจากระบบโซล่าเซลล์ไปได้ในระยะยาว เพราะตอนนี้ต้องบอกเลยว่า เราสามารถเป็นเจ้าของโครงการโซล่าเซลล์ได้ในหลายรูปแบบด้วยกันทั้ง แบบซื้อขาด (Buy), ลงทุนแบบผ่อนสินเชื่อ (Solar Loan) โดยการลงทุนทั้ง 2 รูปแบบนี้เราจะขอเรียกว่า “การติดตั้งแบบลงทุนเอง” และที่เจ้าของโรงงานชอบมาก คือ Private PPA ที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง

เป็นการซื้อขาดโครงการโซล่าเซลล์ (Buy) หรือจะใช้สินเชื่อในการผ่อนชำระ (Bank loan) ซึ่งสามารถเป็นเจ้าของโครงการระบบโซล่าเซลล์ได้ในทันที ก็จะได้รับผลตอบแทนจากโซล่าเซลล์ได้ 100% เป็นระยะเวลากว่า 25-30 ปี

Private PPA

เป็นสัญญาซื้อ-ขายพลังงานแสงอาทิตย์ที่เจ้าของโรงงานไม่ต้องใช้เม็ดเงินของตัวเองลงทุนติดตั้งระบบแม้แต่บาทเดียว โดยบริษัทรับเหมาจะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้แทนเจ้าของโรงงานรวมถึงยังรับผิดชอบค่าซ่อมบำรุงรักษาให้จนครบสัญญาประมาณ 15 ปีอีกด้วย ซึ่งในระยะเวลาสัญญานี้เจ้าของโรงงานจะได้รับส่วนลดค่าไฟเป็นแบบ Flat Rate อธิบายง่ายๆ ก็คือ เจ้าของโรงงานสามารถจ่ายค่าไฟตาม % ที่ตกลงกันตามสัญญา (ส่วนใหญ่ตกลงกันที่ 15%) ให้กับบริษัทรับเหมาติดตั้งในส่วนที่โซล่าเซลล์ผลิตได้ ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าการจ่ายค่าไฟให้การไฟฟ้า โดยเมื่อครบสัญญาแล้วโรงงานจะได้สิทธิความเป็นเจ้าของโครงการโซล่าเซลล์ ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เท่ากับว่าภายหลังสัญญา 15 ปีนี้โรงงานก็จะสามารถลดค่าไฟจากโซล่าเซลล์ได้ 100% เพราะไม่ต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทรับเหมาติดตั้งอีกแล้ว แต่จะใช้ได้อีกราวๆ 10 กว่าปี เพราะโซล่าเซลล์มีอายุเฉลี่ย 25-30 ปี

หากมองเปรียบเทียบกันระหว่าง การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน “แบบลงทุนเอง” กับ “Private PPA” รูปแบบการติดตั้งแบบ Private PPA นับเป็นโครงการที่ดึงดูดเจ้าของโรงงานได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ต้องกระทบกับสถานะทางการเงินของบริษัท แต่เห็นแบบนี้ไม่ใช่ใครก็จะเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยโครงการนี้ได้ เพราะก่อนที่บริษัทผู้รับเหมาจะลงทุนให้ ต้องมีการประเมินเรื่องค่าไฟต่อเดือน เพื่อตัดสินใจความคุ้มค่าในการลงทุนให้นั่นเอง Private PPA จึงเหมาะสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ และมีค่าไฟสูงกว่า 1.5 แสนบาทต่อเดือนขึ้นไป

ขณะที่ “การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง” เจ้าของโรงงานสามารถเป็นเจ้าของระบบโซล่าเซลล์ได้ในทันที และจะให้ผลตอบแทนได้มากกว่าโรงงานที่ติดตั้งด้วยโครงการ Private PPA เพราะในกรณีที่เจ้าของโรงงานมีค่าไฟต่อเดือนถึง 1 แสนบาทขึ้นไป ค่าติดตั้งโซล่าเซลล์จะคืนทุนได้ภายใน 3-6 ปี และหลังจากนั้นก็คือการลดค่าไฟสร้างกำไรจากการผลิตไฟฟ้าไปอีก 20 กว่าปีเลยทีเดียว
ยิ่งไปกว่านั้น “การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบลงทุนเอง” จะสามารถขอรับสิทธิ์ยกเว้นภาษี BOI โดยช่วยลดภาษีได้ 50% ของเงินลงทุน ทำให้ระยะเวลาการคืนทุนเร็วขึ้นอีก 2 ปีเลยทีเดียว *การขอรับสิทธิ์ยกเว้นภาษี BOI เฉพาะ 8 ประเภทธุรกิจที่เข้าข่าย ดังนั้นผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงาน ควรต้องพิจารณารูปแบบการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด เพราะระบบโซล่าเซลล์จะอยู่กับเราไปอีกนาน

กฏหมาย มาตรฐาน วสท. (Rapid Shutdown)

ด้วยความที่โซล่าเซลล์บนโรงงานในไทยได้รับความสนใจมากขึ้น หลายโรงงานเร่งติดตั้งโซล่าเซลล์ ทำให้เกิดร่างกฏหมาย วสท. 022013-22 ปี 2565 ที่เป็นฉบับล่าสุด เงื่อนไขที่สำคัญคือ โครงการโซล่ารูฟท็อปที่มีขนาดติดตั้ง 200 kwp ขึ้นไป (ขนาดอินเวอร์เตอร์มากกว่า 200 kwp) ต้องมีระบบ Rapid Shutdown

แล้ว Rapid Shutdown ที่ว่านี้คืออะไร ?
“ระบบ Rapid Shutdown” เป็นระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งอัคคีภัย และแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงในช่วงที่มีทีมช่างเข้ามาตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ โดยมีเงื่อนไข คือ
การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
1.ลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณขอบเขต ให้ต่ำกว่า 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที
2.ลดแรงดันไฟฟ้าในสายเคเบิลที่อยู่นอกขอบเขต ให้ต่ำกว่า 30 โวลต์ ภายใน 30 วินาที
3.ต้องติดตั้งอุปกรณ์สวิสต์หยุดทำงานฉุกเฉินในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย
ดังนั้นหากเกิดอัคคีภัย แล้วเรากดสวิสต์ฉุกเฉิน “ระบบ Rapid Shutdown” ก็จะทำงานโดยลดแรงดันไฟฟ้าของบริเวณแผงโซล่าเซลล์ให้ต่ำในระดับที่นักผจญเพลิงสามารถเข้าไปควบคุมเพลิงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินได้มากขึ้นนั่นเองอีกทั้งในกรณีที่มีทีมช่างเข้าไปตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์ ก็ปลอดภัยได้ ไม่เสี่ยงที่จะถูกไฟฟ้าช็อตอย่างแน่นอนหากกดสวิสต์ฉุกเฉิน
โดยอุปกรณ์ที่คุณสมบัติรองรับ มาตรฐาน วสท. หรือ Rapid Shutdown จะแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ อย่าง

Micro-Inverter

การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่บริเวณใต้แผงโซล่าเซลล์แต่ละแผง ทำให้แผงเหล่านี้ มีการทำงานได้อย่างอิสระ ทำให้สามารถตัดการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ได้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

Power Optimizer

การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
เป็นอุปกรณ์ที่จะทำการปรับกระแสและแรงดันในฝั่งกระแสตรงให้เหมาะสมก่อนส่งไปยังสตริงอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นกระแสตรง หรือ AC (ขณะที่ Micro-Inverter จะทำการแปลงไฟฟ้า DC เป็นไฟฟ้า AC ในทันที)
โดยอุปกรณ์การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน Power optimizer จะเหมาะมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่า Micro inverter หากจะให้โครงการมี ระบบ Rapid Shutdown

ประหยัดไฟได้มากแค่ไหน กี่ปีคืนทุน ?

การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

คำถามที่เจ้าของโรงงานทุกคนต้องการทราบ คือ ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานกี่ปีคืนทุน ? เพราะแน่นอนเพื่อประเมินความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจลงทุน แต่ถ้าจะให้เราตอบทันทีก็คงจะยาก เพราะผลการคืนทุนอาจต้องประเมินจากหลายปัจจัย

อย่างถ้าหากติดตั้งโซล่าเซลล์กับบริษัทรับเหมาที่ไม่มีมาตรฐาน อาจไม่ได้ช่วยคุณประเมินความคุ้มค่าว่าระบบที่จะติดนั้นจะประหยัดไฟได้แค่ไหน และคืนทุนได้ภายในกี่ปีเลย แค่มองว่าติดๆ ไปก็ลดค่าไฟได้ ซึ่งตอนขายอาจบอกว่าคืนทุนใน 3-5 ปี แต่ความเป็นจริงแล้วใช้เวลากว่า 7 ปี ในการคืนทุนก็เป็นไปได้
โดยปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณผลการคืนทุน ขึ้นอยู่กับทั้งประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ประเภทมิเตอร์ไฟฟ้า รูปแบบการลงทุน ซื้อสดหรือผ่อนธนาคาร จำนวนวันทำงาน/สัปดาห์ ของโรงงาน โรงงานสามารถขอ BOI ได้หรือไม่ ราคาค่าไฟ และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ฯลฯ ปัจจัยทั้งหมดล้วนต้องนำมาเป็นข้อมูลในการประเมินผลการคืนทุนอย่างละเอียด

Energy Green Plus+ สามารถสำรวจหน้างานและประเมินผลการประหยัดไฟฟ้าและผลการคืนทุนได้อย่างเชี่ยวชาญ พร้อมดูแลขอรับสิทธิ์ยกเว้นภาษี boi โซล่าเซลล์ และดูแลสินเชื่อจากธนาคารให้ฟรี ! หรือหากท่านใดสนใจโครงการ Private PPA เราก็สามารถลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์แทนคุณได้

การติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
Logo energy green plus white

Energy Green Plus

เราเชื่อว่า ทุกองค์กร ต้องการประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมกัน

บริการของเรา

รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
BOI โซล่าเซลล์
ปรึกษาการลงทุน
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์
ติดต่อเรา

Energy Green Plus Co.,Ltd. 455/37-38 Rama 6 Rd., Ratchathewi, Bangkok 10400

Tel : 087-439-5555

Tel : 02-219-2697

Tel : 02-613-8312

Line : @energygreenplus

Social media