Rapid Shutdown ระบบหยุดทำงานฉุกเฉินที่รองรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ ตามมาตรฐาน วสท.

Rapid Shutdown คือ ? ทำไมการติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานต้องมี ?

โครงการโซล่ารูฟท็อปที่มีขนาดติดตั้ง 200 kwp ขึ้นไป (ขนาดอินเวอร์เตอร์มากกว่า 200 kwp) ต้องติดตั้ง ระบบ Rapid Shutdown ตามมาตรฐาน วสท. 2565

Rapid Shutdown คือ

หลังจากที่ทาง พ.พ. ได้ประกาศบังคับใช้ “ระบบ Rapid Shutdown” ตามมาตรฐาน วสท. 022013-22 เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา “ทำให้ตอนนี้หากใครจะติดตั้งโซล่ารูฟท็อปขนาดมากกว่า 200 kwp. (ขนาดอินเวอร์เตอร์มากกว่า 200 kwp.) ต้องติดตั้งระบบ Rapid Shutdown ด้วย” ทั้งนี้เพื่อให้โครงการโซล่ารูฟท็อปขนาดใหญ่ในไทย มีมาตรฐานความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

จริงๆ แล้ว ระบบ Rapid Shutdown คือ เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันเป็นสากล โดยมีที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้ชื่อว่า มาตรฐาน National Electrical Code (NEC) 2017 โดยมาตรฐาน NEC นี้ จะออกกฏใหม่ทุกๆ 3 ปี

ทำไมต้องติดตั้ง ระบบ Rapid Shutdown ?

แม้ระบบโซล่าเซลล์จะได้รับการพัฒนาทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายจากปรากฏการณ์ Hot spots หรือจะเป็นความผิดปกติของอาร์คในระบบไฟฟ้าฝั่ง DC ที่จะทำให้เกิดอัคคีภัย หรือเพลิงไหม้ในที่สุด

Rapid Shutdown คือ

1. สร้างความปลอดภัยให้แก่นักผจญเพลิง เมื่อเกิดเพลิงไหม้

“การเกิดเพลิงไหม้แผงโซล่าเซลล์” อันตรายมาก เพราะแม้ว่าเราจะทำการตัดวงจรไฟฟ้าทั้งหมด แต่แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง DC (ไฟฟ้าแรงสูง) ของแผงโซล่าเซลล์จะยังคงทำงานอยู่ ซึ่งในกรณีที่เป็นระบบโซล่าเซลล์แบบสตริงอินเวอร์เตอร์ที่ต่ออนุกรมเดียวกันแรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากความร้อนของเพลิงไหม้ที่มีมากกว่า 600 โวลต์ ก็จะลามไปสู่แผงโซล่าเซลล์ทุกแผงในอนุกรมเดียวกันทั้งหมด ตรงนี้ก็จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ขึ้นๆ ดังนั้นจึงอันตรายอย่างมากสำหรับนักผจญเพลิง

2. สร้างความปลอดภัยให้แก่ทีมซ่อมบำรุง

นอกจากนี้ในกรณีที่มีช่างเข้าไปทำความสะอาด หรือตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์แม้จะปิดระบบกระแสไฟฟ้าแล้วก็ตาม แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าช็อตซึ่งเป็นอันตรายต่อช่างเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ “ระบบ Rapid Shutdown” เป็นระบบที่สร้างความปลอดภัยให้แก่เราได้ โดยเป็นระบบหยุดการทำงานฉุกเฉิน ด้วยการลดแรงดันไฟฟ้าได้ภายในระยะเวลาอันสั้น

คุณลักษณะของ ระบบ Rapid Shutdown

Rapid Shutdown คือ

“ระบบ Rapid Shutdown” จะลดแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยโดยอัตโนมัติ เมื่อไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์หยุดจ่ายกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยมีเงื่อนไขระดับแรงดันไฟฟ้าตามขอบเขตรอบแผงโซล่าเซลล์เป็นระยะ 300 มม. ในทุกทิศทาง ดังนี้

1. ต้องลดแรงดันไฟฟ้าในสายเคเบิลไฟฟ้ากระแสตรงที่อยู่นอกขอบเขต (Outside Array boundary) ให้เหลือไม่เกิน 30 โวลต์ ภายใน 30 วินาที

2. ต้องลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณขอบเขต (Inside Array boundary) ให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ภายใน 30 วินาที

3. ต้องติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่าย

ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าบนหลังคาของอาคารจะสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ หากเกิดเพลิงไหม้หรือระบบเกิดความขัดข้อง นักผจญเพลิงจะสามารถเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อช่วยดับเพลิงได้โดยไม่เจอความเสี่ยงจากแรงดันไฟฟ้าแรงสูง

เงื่อนไขดังกล่าว คือ คุณสมบัติของ “ระบบ Rapid Shutdown” ตามมาตรฐาน วสท. 022013-22 ที่โครงการโซล่ารูฟท็อปที่มีขนาดติดตั้งเกิน 200 kwp (อิงจากขนาดอินเวอร์เตอร์) ต้องมี โดยถ้าหากโครงการใดไม่ทำตามเงื่อนไขเรื่องระบบ Rapid Shutdown ทาง กกพ.จะไม่ออกใบอนุญาตให้

อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติของ “ระบบ Rapid Shutdown”

สวิตช์ปุ่มฉุกเฉิน

Rapid Shutdown คือ

สวิตซ์ปุ่มฉุกเฉิน จะถูกติดตั้งในขั้นตอนเริ่มต้นของการ ติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยจะทำการเชื่อมต่อสวิตช์ฉุกเฉินกับอุปกรณ์ตัดการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ ด้วยสายสัญญาณสื่อสารเข้าด้วยกัน ในตำแหน่งที่นักดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ผนังใกล้ทางเข้าอาคาร ทำให้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ก็จะสามารถตั้งค่าให้หยุดการทำงานโดยอัตโนมัติได้ทันที

Micro-Inverter (ไมโครอินเวอร์เตอร์)

Rapid Shutdown คือ

Micro-Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่บริเวณใต้แผงโซล่าเซลล์แต่ละแผง ทำให้แผงเหล่านี้ มีการทำงานได้อย่างอิสระ โดยจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือก็คือแปลงไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้าที่ใช้ได้ในบ้านตั้งแต่บนหลังคาโดยทันที ดังนั้นด้วยความที่ Micro-Inverter ช่วยให้แผงทำทางได้อย่างอิสระ ทำให้สามารถตัดการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ได้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการรองรับ ระบบ Rapid Shutdown นั่นเอง

โดย อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์แปลงพลังงานที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ เพื่อปรับกระแสไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสม เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์จะผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากนั้นจะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถรองรับการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในสถานที่ผ่าน “อินเวอร์เตอร์” ในปัจจุบัน อินเวอร์เตอร์ที่นิยม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ String Inverter (ไม่รองรับ Rapid Shutdown) , แต่ Power optimizer และ Micro-Inverter (รองรับ Rapid Shutdown)

โดย Micro-Inverter จะเหมาะสำหรับการติดตั้งในโครงการโซล่าเซลล์ขนาดเล็กหรือบ้าน เพราะมีราคาที่แพงมากหากจะติดตั้งในโครงการใหญ่ ซึ่งจะมีผลทำให้การคืนทุนช้าลงมาก

Power Optimizer (พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์)

Rapid Shutdown คือ

Power optimizer เป็นอุปกรณ์ที่จะทำการปรับกระแสและแรงดันในฝั่งกระแสตรง หรือ DC ให้เหมาะสมก่อนส่งไปยังสตริงอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นกระแสตรง หรือ AC (ขณะที่ Micro-Inverter จะทำการแปลงไฟฟ้า DC เป็นไฟฟ้า AC ในทันที) ซึ่งจะติดตั้งที่ใต้แผง โดย Power optimizer 1 ตัว จะสามารถเชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์ได้หลายแผงดังนั้นหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบเพียงแค่แผงในสตริงเดียวกันกับแผงที่เกิดเพลิงไหม้เท่านั้น ซึ่งระบบนี้สามารถตั้งค่า การทำงานของระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ระบบ Rapid Shutdown หรือ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉินได้ โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม

อุปกรณ์ Power optimizer จะเหมาะสำหรับการ ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เป็นหลัก เนื่องจากมีราคาถูกกว่า Micro inverter หากจะให้โครงการโซล่าเซลล์มี ระบบ Rapid Shutdown

Rapid shutdon คือ

จากผลงานที่ผ่านมา เราได้ติดตั้งโครงการระบบโซล่าเซลล์จนสำเร็จที่ บริษัท Intercontinental Jewellery Manufacturing PCL. โดยใช้อินเวอร์เตอร์จาก SolarEdge (รุ่น SE90K) ที่ผ่านการรองรับตามมาตรฐาน วสท. ปี 2565 เป็นรายแรกของประเทศไทย (ออนระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2565) ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้รับการรับรองจากมาตรฐาน วสท. ปี 2565 เป็นที่เรียบร้อย ภายใต้อินเวอร์เตอร์จาก SolarEdge ที่มีระบบ Rapid shutdown หรือระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน ที่สามารถลดแรงดันไฟฟ้าได้ในทันที เพื่อการป้องกันอันตราย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินภายในสถานที่

สุดท้ายนี้สำหรับโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีขนาดการติดตั้งมากกว่า 200 kwp. ที่มีหลักฐาน เช่น ใบ PO, สัญญา EPC, PPA หรือ สัญญาเช่า หลังวันที่ 1 ก.ค. 2566 เป็นต้นมานี้ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน วสท. 022013-22 ด้วยการติดตั้งระบบ Rapid Shutdown หรือระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน ทั้งนี้เพื่อให้โครงการระบบโซล่าเซลล์เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในเรื่องความปลอดภัยหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น

EGP รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างครบวงจร เพื่อให้โรงงานเป็นไปตามมาตรฐาน วสท. ในเรื่อง Rapid shutdown

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน

ขอบคุณข้อมูลจาก : Energysage

Logo energy green plus white

Energy Green Plus

เราเชื่อว่า ทุกองค์กร ต้องการประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมกัน

บริการของเรา

รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
BOI โซล่าเซลล์
ปรึกษาการลงทุน
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์
ติดต่อเรา

Energy Green Plus Co.,Ltd. 455/37-38 Rama 6 Rd., Ratchathewi, Bangkok 10400

Tel : 087-439-5555

Tel : 02-219-2697

Tel : 02-613-8312

Line : @energygreenplus

Social media