อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ อะไร มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ ตัวแปลงพลังงานที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ เพื่อปรับกระแสไฟฟ้าในระดับที่เหมาะ และส่งต่อพลังงานไปให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ

ในการ ติดตั้งโซล่าเซลล์ การเลือกใช้อุปกรณ์ อินเวอร์เตอร์ ถือเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด เพราะ “ อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ “ มีหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตพลังงานที่ต่างกัน รวมถึงเรื่องของความปลอดภัยอีกด้วย

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ ตัวแปลงพลังงานที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ เพื่อปรับกระแสไฟฟ้าในระดับที่เหมาะ โดยเมื่อโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์จะผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากนั้นจะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถรองรับการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในสถานที่นั่นเอง

โดยในปัจจุบัน Inverter ที่นิยม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ String Inverter, Power optimizer และ Micro-Inverter ดังนั้นเรามาดูกันครับว่า Inverter แต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร ?

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ … อะไร
ทั้ง 3 ระบบ ต่างกันอย่างไร ?

1. สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) 

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ

String Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ที่เชื่อมต่อกับ แผงโซล่าเซลล์ที่ต่อสายเข้าด้วยกันเป็นอนุกรม หรือเรียกว่า “สตริง” เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าสูงกว่าแรงดันขั้นต่ำที่ String Inverter ต้องการ โดยพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จะส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เครื่องเดียว

ข้อดีของ String Inverter

1.สามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากมีราคาถูก

2.สามารถบำรุงรักษาเครื่องอินเวอร์เตอร์ได้ง่าย เนื่องจากจะติดตั้งใกล้พื้นดิน

ข้อเสียของ String Inverter

1. เนื่องจากมีแรงดันไฟฟ้าสูง ทำให้มีความอันตรายต่อผู้ที่ทำงานบนหลังคา หากเกิดเพลิงไหม้ (ไม่รองรับ Rapid Shutdown)

2. หากมีแผงโซล่าเซลล์แผงหนึ่งเสีย แผงอื่นที่ต่ออนุกรมเดียวกันจะไม่สามารถผลิตพลังงานได้ตามกัน หรือถ้าแผงโดนเงาบดบังก็จะทำให้แผงอื่นๆ ในสตริงเดียวกันมีประสิทธิภาพลดลงด้วย

โดย String Inverter จะเหมาะสำหรับการติดตั้งราคาประหยัด เนื่องจากมีราคาถูก และเข้าถึงการบำรุงรักษาได้ง่าย แต่ต้องแลกมากับความเสี่ยงอันตรายจากแรงดันไฟฟ้ากำลังสูง

2. ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro-Inverter) 

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ

Micro-Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่บริเวณใต้แผงโซล่าเซลล์แต่ละแผง ทำให้แผงโซล่าเซลล์เหล่านี้ มีการทำงานได้อย่างอิสระ โดยระบบนี้จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือก็คือแปลงไฟโซล่าเซลล์ เป็นไฟบ้าน ตั้งแต่บนหลังคาโดยทันที เหมาะสำหรับการติดตั้งกับโซล่าเซลล์บนบ้าน หรือครัวเรือน เพราะ Micro-Inverter แต่ละตัวนั้นมีราคาแพง ซึ่งอาจทำให้การคืนทุนในโครงการช้าลง

ข้อดีของ Micro-Inverter

  1. ด้วยความที่แผงโซล่าเซลล์ทุกแผงทำงานได้อย่างอิสระ ทำให้หากมีแผงโซล่าเซลล์แผงใดมีประสิทธิภาพต่ำลง ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อแผงอื่น

2. มีระบบ Monitoring ที่สามารถตรวจสอบได้ทันที หากแผงโซล่าเซลล์แผงใดเกิดชำรุด

3. เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแผงโซล่าเซลล์ หรือขยายระบบ เราสามารถใช้แผงใหม่ที่มีกำลังวัตต์ต่างกันได้เลย

4. รองรับ Rapid shutdown (ระบบที่สามารถลดแรงดันไม่ให้สูงเกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที)

ข้อเสียของ Micro-Inverter

  1. เป็นอินเวอร์เตอร์ที่มีราคาแพงที่สุด

2. การติดตั้งและซ่อมบำรุงยาก เช่น หากมีอินเวอร์เตอร์ตัวหนึ่งเสีย ต้องขึ้นไปบนหลังคา เพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยน

โดย Micro-Inverter จะเหมาะกับการติดตั้งขนาดเล็ก หรือบ้าน เพราะมีราคาที่แพงมากหากจะติดตั้งในโครงการใหญ่ ซึ่งจะมีผลทำให้การคืนทุนช้าลงมาก

3. พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ (Power Optimizer) 

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ คือ

Power optimizer เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่บริเวณใต้แผงโซล่าเซลล์ แต่จะมีการทำงานที่ผสานทั้ง String Inverter และ Micro-Inverter เข้าด้วยกัน โดยระบบนี้จะทำการปรับกระแสและแรงดันไฟฟ้าฝั่ง DC ให้ “เหมาะสม” ก่อนส่งไปยัง String Inverter เพื่อแปลงเป็นกระแสตรง AC ซึ่งจะเหมาะสำหรับใช้งานในการ ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เพื่อให้โครงการถูกต้องตามกฏหมาย วสท. ตามมาตรฐาน Rapid shutdown

(ขณะที่ Micro-Inverter จะทำการแปลงไฟฟ้า DC เป็นไฟฟ้า AC ในทันที) โดย Power optimizer 1 ตัว จะสามารถเชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์ได้
หลายแผง

ข้อดีของ Power optimizer

1. หากมีเงาบังแผงโซล่าเซลล์ ประสิทธิภาพจะลดลงเฉพาะคู่ที่ต่อด้วย Optimizer เดียวกันเท่านั้น (ในกรณีที่ optimizer 1 ตัว มีการเชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์จำนวนน้อย)

2. มีระบบ Monitoring ที่สามารถตรวจสอบได้ทันที หากแผงใดเกิดชำรุด

3. มีคุณสมบัติคล้าย Micro-Inverter และมีราคาถูกกว่า แต่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเล็กน้อย

4. รองรับ Rapid shutdown (ระบบที่สามารถลดแรงดันไม่ให้สูงเกิน 30 โวลต์ภายใน 30 วินาที)

ข้อเสียของ Power optimizer

1. หากมีเงาบังแผงโซล่าเซลล์ ประสิทธิภาพของแผงที่เชื่อมต่อกับ Optimizer เดียวกันจะต่ำลงตามไปด้วย (ในกรณีที่ optimizer 1 ตัว มีการเชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์จำนวนมาก)

2. เช่นเดียวกับ Micro-Inverter หากมีอินเวอเตอร์ตัวหนึ่งเสีย ต้องขึ้นไปบนหลังคา เพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยน

โดย Power optimizer เหมาะกับการติดตั้งขนาดใหญ่ หรือโรงงาน เพราะมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป พร้อมได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับ Micro-inverter เช่น การรองรับระบบ Rapid Shutdown

จะเห็นได้ว่าอินเวอร์เตอร์แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ราคา รวมถึงความปลอดภัย หากใครกำลังมองหาอินเวอร์เตอร์อาจพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นได้ครับ ทั้งนี้เราขอแนะนำว่า บ้าน หรืออาคารไหนที่โดนเงา หรือมีการวางแผงโดยหันไปคนละทิศกัน Micro-Inverter และ Power optimizer ก็ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์

EGP รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน เรามีทีมงานประสบการณ์สูง พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องระบบโซล่าเซลล์ และสำรวจหน้างานให้คุณได้ฟรี ! รวมถึงขออนุญาตติดตั้ง และ ขอสิทธิ BOI โซล่าเซลล์ เพื่อลดภาษีได้อีกด้วย

Logo energy green plus white

Energy Green Plus

เราเชื่อว่า ทุกองค์กร ต้องการประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมกัน

บริการของเรา

รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
BOI โซล่าเซลล์
ปรึกษาการลงทุน
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์
ติดต่อเรา

Energy Green Plus Co.,Ltd. 455/37-38 Rama 6 Rd., Ratchathewi, Bangkok 10400

Tel : 087-439-5555

Tel : 02-219-2697

Tel : 02-613-8312

Line : @energygreenplus

Social media