รู้จัก มาตรการ CBAM ที่ทำให้ธุรกิจส่งออกไทยต้องหันมาใช้ “พลังงานสะอาด”
cbam คือ ? ทำไมธุรกิจส่งออก ต้องหันมาใช้พลังงานสะอาด

ทุกคนอาจรู้สึกได้ว่าโลกร้อนขึ้นมากเมื่อเทียบกับหลายปีก่อน จากตัวเลขอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นปีละเฉลี่ย 0.6-0.9 องศาเซลเซียส โดยในอนาคตหากไม่มีการรักษาอุณหภูมิโลกให้ต่ำลง อาจทำให้เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วมรุนแรง ภัยแล้งที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง และคลื่นความร้อนที่จะทำให้มนุษย์ออกจากบ้านไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย
ที่ผ่านมาหลายประเทศมีการตื่นตัว และได้ออกมาตรการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป (EU) ที่มีการเก็บภาษีคาร์บอน ฯ ทำให้ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องพบกับค่าใช้จ่ายด้านภาษี โดยล่าสุด “ภาษีคาร์บอน” กำลังจะเข้ามากระทบธุรกิจส่งออกไทยแล้ว นั่นคือ มาตรการ CBAM
ธุรกิจส่งออกไทย เจอ ภาษี CBAM แน่ !

มาตรการภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)
มาตรการภาษี CBAM เป็นการเก็บภาษีสินค้าก่อนข้ามพรหมแดนอธิบายง่ายๆ คือ ธุรกิจส่งออกสินค้า (ทั่วโลก) ที่ใช้กระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง หากจะนำเข้ามาใน EU จะต้องเสียภาษี หรือแม้แต่ธุรกิจที่ส่งออกสินค้าไปให้ประเทศอื่นที่จะนำไปผลิตสินค้าส่งออกสู่ EU อีกทอดก็จะถูกเก็บภาษีเช่นกัน และในตอนนี้มาตรการภาษี CBAM จะเริ่มเก็บภาษีในสินค้า 7 ประเภท ซึ่งเป็นสินค้าที่มีกระบวนการผลิต โดยใช้การปล่อยก๊าซคาร์บอน ฯ สูง
โดยมาตรการ CBAM จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2566 นี้
สินค้า 7 ประเภทที่เข้าข่าย เจอ ภาษี CBAM

สินค้าที่เข้าข่ายเจอ “ภาษี CBAM” ได้แก่
– ไฮโดรเจน
– ไฟฟ้า
– ปุ๋ย
– อะลูมิเนียม
– เหล็ก
– เหล็กกล้า
– และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอื่น ๆ
โดยข้อมูลการส่งออกสินค้าที่เข้าข่าย CBAM ไป EU ของไทย ในปี 2021 มีมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 954 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 4.3% ของสินค้าไทยทั้งหมดที่ส่งไป EU แบ่งเป็น พลาสติก 554 ล้านดอลลาร์, เคมีภัณฑ์ 202 ล้านดอลลาร์, เหล็ก 129 ล้านดอลลาร์ และ อะลูมิเนียม 67 ล้านดอลลาร์
ธุรกิจที่เข้าข่าย CBAM ต้องดำเนินการอย่างไร ก่อนส่งสินค้าไป EU

ช่วง 3 ปีแรก (2566-2568) หรือ ช่วง CBAM Declaration
เริ่มรายงานข้อมูลวันที่ 1 ตุลาคม 2566 (ยังไม่เก็บภาษีจริง)
– ธุรกิจส่งออกสินค้าไป EU ต้องรายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาให้หน่วยงานประสานกลางของ CBAM (Authorized Declarant) เป็นรายไตรมาส
ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป หรือ ช่วงซื้อ CBAM Certificate
ธุรกิจเริ่มจ่ายภาษี CBAM เพื่อรับ CBAM Certificate
– ธุรกิจส่งออกสินค้าไป EU ต้องรายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Embedded Emission) ซึ่งจะถูกตรวจสอบโดยผู้ทวนสอบ (Accredited Verifier) โดยทางธุรกิจจะต้องซื้อ CBAM Certificate ที่เกินค่า Benchmark ของ EU ภายในวันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี
โดย 1 Certificate จะเท่ากับ = 1 ตันคาร์บอน (CO2e) ซึ่งราคาของ Certificate ก็จะอิงตามราคาตลาด EU Emission Trading System (ETS)

ตัวอย่างเช่นราคา ETS ณ วันที่ 17 เม.ย. 2566 จะมีราคาอยู่ 93.04 ยูโร ต่อคาร์บอน 1 ตัน (CO2e) ดังนั้นธุรกิจก็จะต้องซื้อ CBAM Certificate ในราคานี้ เพื่อนำไปเป็นหลักฐานการปฏิบัติตามมาตรการ
เมื่อธุรกิจมีใบรับรอง CBAM Certificate แล้ว ก็จะเข้าสู่ช่วง Authorized Declarant
– ธุรกิจส่งออกสินค้าไป EU จะต้องส่งใบรับรอง CBAM Certificate ไปยังหน่วยงานประสานกลางไปยังคณะกรรมการ CBAM Authority เพื่อนำเข้าสินค้าไปยัง EU ได้
จะเห็นได้ว่า “หากคุณเป็นธุรกิจส่งออกสินค้าไป EU ซึ่งเข้าข่ายตามมาตรการ CBAMแล้วยังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งต้องเสียภาษีมากเท่านั้น เพื่อชดเชยก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกมานั่นเอง”
สำหรับธุรกิจที่ส่งออกที่ไม่ได้เข้าข่ายมาตรการ CBAM ก็จะนิ่งนอนใจ เพราะมีข่าวว่า มาตรการนี้จะขยับรวมประเภทสินค้า อย่างเคมีภัณฑ์และพอลิเมอร์ในปี 2569-2570 และในปี 2573 คาดการณ์ว่าจะครอบคลุมสินค้าทุกประเภท
นอกจากนี้ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐก็กำลังนำมาตรการภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน เช่นเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า CCA ที่จะเริ่มมาตรการในวันที่ 1 ม.ค. 2569 ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศในแถบเอเชีย อย่าง จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ ก็จะเริ่มมาตรการภาษีคาร์บอน ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ CBAM ในอนาคตเช่นกัน
ดังนั้นในทางที่ดีทุกธุรกิจควรปรับตัวโดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ฯ ให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เสียภาษี CBAM เพื่อโอกาสในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
ธุรกิจส่งออกไทยปรับตัวอย่างไร ?

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากคุณเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายเจอภาษีคาร์บอนเชื่อว่าต้องอยากลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กันทั้งนั้นแน่นอน โดยวิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้ คือ การเลือกใช้พลังงานสะอาด เช่น ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตสินค้าที่จะส่งออกแทนพลังงานฟอสซิลที่จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอน ฯ ตรงนี้ก็จะช่วยให้ธุรกิจลดก๊าซคาร์บอน ฯ ได้ในระยะยาว เมื่อเราปล่อยก๊าซคาร์บอน ฯ น้อยลง เวลาซื้อ CBAM Certificate เพื่อนำเข้าสินค้าไปต่างประเทศ ก็ไม่ต้องเจอกับภาษีคาร์บอนจำนวนมากนั่นเอง
ดังนั้น “ระบบโซล่าเซลล์” นอกจากจะช่วยลดค่าไฟแบบที่เราเข้าใจกันแล้ว ยังสามารถช่วยรองรับมาตรการภาษีคาร์บอน อย่าง CBAM และรู้หรือไม่ว่ามันยังช่วยให้เราทำกำไรได้จากการขายคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย