อุปกรณ์ติดตั้งโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง ?
อุปกรณ์ติดตั้งโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง ? EGP มาแชร์ความรู้ !

“ระบบโซล่าเซลล์” ตัวช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งผลที่ได้ก็คือค่าไฟที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นการ ติดตั้งโซล่าเซลล์ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม และบ้าน ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้นเชื่อว่าหลายคนในที่นี้ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเบื้องลึกเบื้องหลังของระบบโซล่าเซลล์ กว่าจะมาเป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าได้ ต้องมีอุปกรณ์ใดบ้าง และอุปกรณ์แต่ละอย่างนั้น ทำหน้าที่อะไร ? ใช้กับระบบใด ? เพราะต้องบอกก่อนว่าระบบโซล่าเซลล์มีอยู่หลายประเภท
อุปกรณ์ติดตั้งโซล่าเซลล์มีอะไรบ้าง ?
ระบบโซล่าเซลล์ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ ระบบออนกริด (On-grid), ระบบออฟกริด (Off-grid) และ ระบบไฮบริด (Hybrid system) โดยแต่ละระบบก็จะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไปบ้าง
แผงโซล่าเซลล์ (Photovoltaics)
ใช้ในระบบออนกริด, ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด

แผงโซล่าเซลล์ คือ แผ่นเซลล์ที่ทำขึ้นจากวัสดุซิลิคอนขนาดสี่เหลี่ยมที่ถูกนำมาวางรวมกันเป็นแผ่นเดียว ทำหน้าที่ในการรับแสงอาทิตย์ และผลิตพลังงานเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในกระแสตรง (DC) ซึ่งจะถูกนำไปแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
ปัจจุบัน แผงโซล่าเซลล์ที่นิยมมี 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ แผงโมโนคริสตัลไลน์, แผงโพลีคริสตัลไลน์ และแผงอะมอฟัส
ตัวอย่างแผงโมโนคริสตัลไลน์

ตัวอย่างแผงโพลีคริสตัลไลน์

ตัวอย่างแผงอะมอฟัส

อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
ใช้ในระบบออนกริด, ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด

อินเวอร์เตอร์ คือ อุปกรณ์แปลงพลังงานที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ เพื่อปรับกระแสไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสม เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์จะผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากนั้นจะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถรองรับการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในสถานที่ผ่าน “อินเวอร์เตอร์”
ทั้งนี้ในระบบออนกริด, ออฟกริด และไฮบริด ก็จะใช้อินเวอร์เตอร์ที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง
อินเวอร์เตอร์ในระบบออนกริด On-grid (Grid-tie Inverter)
สำหรับโซล่าเซลล์ระบบ ออนกริด จะใช้อินเวอร์เตอร์ประเภท Grid-tie Inverter ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดในตอนนี้ อินเวอร์เตอร์ Grid-tie ก็จะแบ่งเป็น High volt และ Low volt โดย High volt สามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภท ได้แก่ สตริงอินเวอร์เตอร์, ไมโครอินเวอร์เตอร์, อินเวอร์เตอร์แบบมีพาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ และเซ็นทรัลอินเวอร์เตอร์
ตัวอย่างสตริงอินเวอร์เตอร์

ตัวอย่างไมโครอินเวอร์เตอร์

ตัวอย่างอินเวอร์เตอร์
แบบมีพาวเวอร์ออฟติไมเซอร์

ตัวอย่างเซ็นทรัลอินเวอร์เตอร์

อินเวอร์เตอร์ในระบบออฟกริด Off-grid
สำหรับโซล่าเซลล์ระบบ Off-grid จะใช้อินเวอเตอร์แบบสวิทชิ่ง และแบบหม้อแปลงเทอรอยด์ (Toroid) ซึ่งอินเวอเตอร์แบบสวิทชิ่ง (Switching) ก็จะแบ่งแยกย่อยอีก 2 แบบ ได้แก่ Pure sine wave และ Modified sine wave
โดย Pure sine wave จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากจะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความละเอียดอ่อนต่อคลื่นความถี่
แต่สำหรับอินเวอเตอร์แบบหม้อแปลงเทอรอยด์ (Toroid) ก็มีข้อดีเช่นกัน คือ สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่กระชากได้ ดังนั้นจึงเหมาะแก่การใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์ เช่น ปั๊มน้ำ แอร์ชนาดใหญ่ ฯลฯ
ตัวอย่างอินเวอร์เตอร์แบบสวิทชิ่ง

ตัวอย่างอินเวอร์เตอร์แบบหม้อแปลงเทอรอยด์

สายดิน (Grounding equipment)
ใช้ในระบบออนกริด, ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด

สายดิน คืออีกหนึ่งเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ เพราะจะทำหน้าที่ป้องกันความผิดพลาดในระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร และนำทางให้กระแสไฟที่รั่วหรือกระแสไฟฟ้าส่วนเกินไหลลงพื้นดิน รวมถึงยังช่วยตัดกระแสไฟฟ้าให้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเมื่อมีไฟเกินอีกด้วย
ทางเดินบนหลังคา (Walk way)
ใช้บนหลังคาโรงงาน

Walk way เป็นทางเดินที่มีความแข็งแรง และทนต่อทุกสภาพอากาศ โดจะทำจากวัสดุไฟเบอร์กลาส (Fiber Glass) มีน้ำหนักเบาแต่รองรับน้ำหนักได้มาก ไม่กรอบ ไม่แตก ไม่หัก ไม่ติดไฟ มีความยืดหยุ่นสูง ทั้งนี้เพื่อให้ทีมผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินบนหลังคาได้อย่างปลอดภัย
Walk way วัสดุไฟเบอร์กลาสได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะตอบโจทย์มากกว่าในทุกด้าน ซึ่งจะต่างจากวัสดุอื่นๆ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม หรือไม้ ตรงที่จะไม่เปลี่ยนรูปทรงเมื่อถูกแรงกระแทก และทนต่อสารเคมีและความชื้น ไม่ทำให้เกิดการกัดกร่อนที่สำคัญเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ตัวอย่าง Walk way วัสดุไฟเบอร์กลาส

ตัวอย่าง Walk way วัสดุอลูมิเนียม

ฐานยึดติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar mounting)
ใช้ในทุกสถานที่ที่ติดตั้ง

ฐานยึดติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar mounting ทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อไม่ได้หลังคาเกิดความเสียหาย หรือพังลงมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งบนหลังคากระเบื้อง หรือเมทัลชีท และบนดาดฟ้า โดยฐานยึดจะทำจากวัสดุอลูมิเนียมที่แข็งแรงผสมกับเหล็กชุดกันสนิม (Hot dip galvanize) มีน้ำหนักเบา แต่สามารถทนทานต่อทุกสภาพอากาศ
กล่องควบคุมไฟฟ้า (Combiner Box)
ใช้ในระบบออนกริด, ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด

กล่องควบคุมไฟฟ้า หรือ Combiner Box เป็นอุปกรณ์สำหรับรวบรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปที่อินเวอร์เตอร์ โดยจะมีฟิวส์ และชุดเบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่ตัดไฟเพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าเกิน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยอาจจะเพิ่ม อุปกรณ์ Surge Protection Device (SPD) เข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามามากเกินในกรณีที่มีฟ้าผ่า
ตัวอย่าง Surge Protection Device (SPD)

มิเตอร์ไฟฟ้าดิจิทัล
ใช้ในระบบออนกริด ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด

มิเตอร์ไฟฟ้าดิจิทัล ทำหน้าที่ในการอ่านค่าต่างๆ ในระบบ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ หรือเรียกว่า Utility Kilowatt-hour Meter โดยการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าดิจิทัล ในโซล่าเซลล์ระบบออนกริดต้องขออนุญาตการเชื่อมต่อเข้ากับระบบการไฟฟ้าก่อนเสมอ อีกเรื่องหนึ่งก็คือแต่เดิมมิเตอร์จะเป็นระบบจานหมุน เราต้องเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลเพื่อให้แสดงผลเป็นตัวเลข
อุปกรณ์กันไฟฟ้าย้อน (Zero export controller)
ใช้ในระบบออนกริด และระบบไฮบริด

อุปกรณ์กันไฟฟ้าย้อน หรือ Zero export ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์ไหลเข้าสู่โครงข่ายการไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Relay Protection โดยจะควบคุมกำลังการผลิตจากอินเวอร์เตอร์ให้เท่ากับโหลดการใช้เครื่องไฟฟ้าในสถานที่หรือการทำให้ไฟไหลย้อนกลับเป็นศูนย์นั่นเอง ซึ่งจะจัดการการทำงานทั้งส่วนของ กำลังที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสถานที่ , กำลังการผลิตที่ได้จากอินเวอร์เตอร์ และกำลังที่จะต้องดึงมาจากการไฟฟ้า
EGP รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน พร้อมขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้ จบในทุกขั้นตอน เชี่ยวชาญ มั่นใจได้ รวมถึงขอสิทธิ์ยกเว้นภาษี BOI โซล่าเซลล์ เราก็ทำให้ ฟรี !

Energy Green Plus
เราเชื่อว่า ทุกองค์กร ต้องการประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมกัน
บริการของเรา
รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
BOI โซล่าเซลล์
ปรึกษาการลงทุน
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์
ติดต่อเรา
Energy Green Plus Co.,Ltd. 455/37-38 Rama 6 Rd., Ratchathewi, Bangkok 10400
E-mail : [email protected]
Tel : 087-439-5555
Tel : 02-219-2697
Tel : 02-613-8312
Line : @energygreenplus

Social media