Biomass wood pellet ชีวมวลอัดแท่ง คืออะไร? ทำไมเหมาะกับโรงงาน

wood pellet อีกหนึ่งพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะกับการใช้เป็นพลังงานในโรงงาน

wood pellet

จากที่ทราบกันเป็นอย่างดี ไทยเป็นหนึ่งในประเทศแห่งการเกษตรลำดับต้นๆ ของโลกประโยชน์ของการนำของเสียทางเกษตรจำนวนมากมาต่อยอดจึงได้มาถึงแล้ว โดยเราสามารถนำของเสียเหล่านี้ มาทำเป็น “ชีวมวลอัดแท่ง” (Biomass wood pellet) เพื่อผลิตพลังงานใช้ในอุตสาหกรรมได้โดยไม่ให้เสียทรัพยากรไปโดยสูญเปล่า และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ทั้งนี้ “ชีวมวลอัดแท่ง” เหมาะแก่เป็นพลังงานหมุนเวียนในธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นตัวช่วยรับมือกับภาษีคาร์บอนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ชีวมวลอัดแท่ง (Biomass Wood pellet) คืออะไร ?

wood pellet

ชีวมวลอัดแท่ง คือ แท่งพลังงานเชื้อเพลิงแข็ง (Solid-Fuels) ที่ได้จากอินทรีย์สาร หรือก็คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กาก มูลสัตว์และของเสียจากโรงงาน เช่น แกลบ ฟาง กากอ้อย กะลาปาร์ม กะลามะพร้าว เศษไม้ เศษหญ้า มูลโคและสุกรเปลือกสับปะรด น้ำเสียจากโรงงาน เป็นต้น โดยให้ค่าพลังงานความร้อนสูง สามารถนำมาใช้ในการแปรรูปเป็นพลังที่ใช้ในอุตสาหกรรม และกิจกรรมต่างๆ ได้ และที่สำคัญชีวมวลอัดแท่งนี้ยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

โดยเราสามารถนำ “ชีวมวลอัดแท่ง” มาแปรรูปเป็นพลังงานได้หลากหลาย

“ชีวมวลอัดแท่ง” มีกระบวนการผลิตอย่างไร ?

wood pellet

1. กระบวนการย่อย (Crushing process)

เป็นการนำวัสดุทางการเกษตร เช่น ปีกไม้ เศษไม้ เปลือกไม้ ฟางข้าว ที่มีขนาดไม่เหมาะแก่สำหรับการผลิตมาย่อยให้มีขนาดที่เหมาะสมผ่านเครื่องจักรย่อยบด ก่อนที่จะนำไปผลิต

2. กระบวนการลดความชื้น (drying process)

เป็นการนำวัสดุทางการเกษตรมาลดความชื้นให้ถึงในจุดที่เหมาะสม เพื่อให้วัสดุเหมาะกับกระบวนการอัด (pelleting process)

3. กระบวนการผสม (mixing process)

เป็นการนำวัสดุทางการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาผสมกัน

4. กระบวนการอัด (pelleting process)

เป็นการขึ้นรูปวัสดุให้เป็นแท่งให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 6-10 มม. ยาว 3-6 ซม. หรือตามความต้องการ โดยจะใช้เครื่องจักรในการขึ้นรูป

5. กระบวนการระบายความร้อน (cooling process)

จะเป็นการนำเชื้อเพลิงชีวมวลที่ขึ้นรูปเป็นแท่งแล้ว มาระบายความร้อน เพื่อให้เย็นตัวลง ซึ่งจะทำให้ชีวมวลมีความแข็งคงทนเป็นแท่ง โดยในกระบวนการนี้เป็นอันเสร็จสิ้น

“ชีวมวลอัดแท่ง” แปรรูปเป็นพลังงานได้อย่างไร ?

wood pellet

ชีวมวลอัดแท่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในภาคอุตสาหกรรมโรงงาน และการคมนาคม เป็นต้น ทั้งนี้ชีวมวลอัดแท่งสามารถแปรรูปเป็นพลังงานได้ 4 รูปแบบ

1. เผาไหม้โดยตรง (Combustion)

สามารถทำการแปรรูปโดยนำความร้อนจากการเผาไหม้ชีวมวล ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง จากนั้นไอน้ำจะถูกส่งไปขับกังหันไอน้ำ เพื่อผลิตไฟฟ้า

2. หมัก (Fermentation)

เป็นการนำวัตถุดิบมาหมักในที่อับอากาศ ซึ่งจะแปรรูปวัตถุดิบชีวภาพให้เป็นแก๊ซมีเทน และเป็นเชื้อเพลิงในเวลาต่อมา โดยสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้

3. ผลิตก๊าซ (Gasification)

ทำการเผาแบบอัดก๊าซจนได้ก๊าซสังเคราะห์ (Syngas) สามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas engine) ได้

4. ผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช

ทำการย่อยสลายพืชทางการเกษตร ในรูปแบบเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน

ข้อดีของ “ชีวมวลอัดแท่ง” ในบริบทไทย

ในประเทศไทย “ชีวมวลอัดแท่ง” ได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมโรงงานไทยในช่วงระยะหลังมานี้ เนื่องจากชีวมวลอัดแท่งสามารถเผาไหม้ได้นาน ซึ่งก็เท่ากับพลังงานที่มาก เหมาะกับการใช้ในรูปของพลังงานความร้อน เพื่อผลิตไอน้ำ หรือใช้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากระบบหม้อต้มไอน้ำ ซึ่งมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงพาณิชย์ชนิดอื่นๆ และสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลในกระบวนการผลิตด้วยความร้อนด้วยต้นทุนที่ประหยัดกว่ามาก อีกทั้งยังช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะเชื้อเพลิงชีวมวลทำจากทรัพยากรเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถทดแทนได้ ซึ่งในประเทศไทยก็มีอยู่อย่างเหลือเฟือ

นอกจากนี้ ด้วยความที่ “ชีวมวลอัดแท่ง” เป็นพลังงานหมุนเวียน จึงถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยรับมือกับมาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรหมแดน (CBAM) สำหรับธุรกิจไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป เพราะต้องบอกเลยว่าต่อไปในอนาคตมาตรการภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) จะเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะฉะนั้นพลังงานหมุนเวียนสำคัญมาก

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้ “ชีวมวลอัดแท่ง” ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างในโรงงานแปรรูปเกษตรและเคมีภัณฑ์เป็นหลักซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากภาคการผลิตไทย ยังไม่มีเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ทันสมัย ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ยังคงมีต้นทุนที่สูงอยู่

แต่มีการคาดการณ์ว่าอนาคต “ชีวมวลอัดแท่ง” ในประเทศไทย จะเติบโตมากขึ้นตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลรวม 4,694 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า

EGP จำหน่าย “ชีวมวลอัดแท่ง” (Biomass Wood Pellet) ที่มีส่วนผสมของยางพาราและไม้เนื้อแข็ง ให้พลังงานสูง เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเกรดพรีเมียม ให้ค่าความร้อนสุทธิขั้นต่ำ 4,300 กิโลแคลอรี่ / กิโลกรัม โดยมีปริมาณเถ้าที่ต่ำ และความชื้น (Moisture Content) ที่ต่ำผ่านการทดสอบโดย SGS สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Logo energy green plus white

Energy Green Plus

เราเชื่อว่า ทุกองค์กร ต้องการประหยัดพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมกัน

บริการของเรา

รับติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน
BOI โซล่าเซลล์
ปรึกษาการลงทุน
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์
ติดต่อเรา

Energy Green Plus Co.,Ltd. 455/37-38 Rama 6 Rd., Ratchathewi, Bangkok 10400

Tel : 087-439-5555

Tel : 02-219-2697

Tel : 02-613-8312

Line : @energygreenplus

Social media